1 .ปั้มลมแบบลูกสูบ ( PISTON COMPRESSOR )

เป็นปั้มลมที่นิยมใช้กันมากที่สุด เพราะสามารถอัดลมได้ตั้งแต่ความดันต่ำ จนถึงความดันสูง สามารถสร้างความดันได้ตั้งแต่หนึ่งบาร์จนถึงเป็นพันบาร์โดยขึ้นอยู่กับจำนวนขั้นของการอัด ถ้าขั้นในการอัดมากก็จะสามารถสร้างความดันให้สูงขึ้นตามไปด้วย

 

2. ปั้มลมแบบสกรู ( SCREW COMPRESSOR )

ปั้มอัดลมชนิดนี้ภายในคอมเพรสเซอร์ชนิดนี้จะมีเพลา สกรูสองเพลาที่หมุนขบกัน เรียกว่า เพลาตัวผู้ และเพลาตัวเมีย เพลาสกรูทั้งสองจะประกอบอยู่ในตัวเรือนเดียวกันโดยหมุนด้วยความเร็วรอบเกือบเท่ากัน ซึ่งเพลาตัวผู้จะหมุนเร็วกว่าเพลาตัวเมียเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และมีทิศทางการหมุนเข้าหากันทำให้ดูดลมจากด้านหนึ่ง และอัดส่งต่อไปอีกด้านหนึ่งได้ โดยสามารถทำให้ค่าความดันสูงถึง 10 บาร์ และมีอัตราการจ่ายลมได้ถึง 170 ลูกบาศก์เมตรต่อนาที

 

 

3. ปั้มลมแบบ ( Turbo Centrifugal )

เครื่องอัดลมแบบเทอร์โบ เป็นเครื่องอัดลมแบบแรงเหวี่ยงขนาดใหญ่โดยมีขนาดตั้งแต่ 300 แรงม้า ถึง 3,500 แรงม้า ออกแบบเพื่ออุตสาหกรรมที่ต้องการลมปริมาณมากและไร้น้ำมัน(Oil-free) เช่นอุตสาหกรรม อิเลคทรอนิกส์ สิ่งทอ ปิโตรเคมีคอล อุตสาหกรรมผลิตเหล็กและอื่นๆ

การเปรียบเทียบระหว่าง ปั้มลมแบบสกรูและปั้มลมแบบลูกสูบ

รายการ แบบสกรู ( Rotary Screw Air Compressor ) แบบลูกสูบ ( Reciprocating Air Compressor )
( DIRECT COUPLING ) ( BELT )
1)ปริมาณการอัดลม มีชิ้นส่วนเพียง 2 ตัว (สกรูตัวผู้และสกรูตัวเมีย) ที่หมุนโดยมีน้ำมันเป็นฟิลม์ป้องกันการกระแทก ทำให้มีการสึกหรอน้อย ซึ่งจะทำให้ปริมาณการอัดลมคงที่ มีชิ้นส่วนในการขับเคลื่อนมากกว่า เช่น ลูกสูบ,แหวน, ก้านสูบ, วาล์วดูดและอัดลม  ซึ่งจะทำให้เกิดการ  สึกหรอสูง มีผลต่อปริมาณการอัดลมลดลงประมาณ 15-20% ต่อปี
2) การกินกำลังไฟฟ้า  KW/CFM การกินกำลังไฟฟ้าเกือบคงที่เนื่องจากการสึกหรอต่ำ การกินกำลังไฟฟ้าเพิ่มขึ้นตามชั่วโมงการใช้งานเนื่องจากมีการสึกหรอสูง
3) การบำรุงรักษา ต้องการการบำรุงรักษาต่ำซึ่งมีการเปลี่ยนน้ำมันและไส้กรองน้ำมันเท่านั้น ต้องการการบำรุงรักษาเป็นระยะ เช่น แหวนสูบ,กระบอกสูบ, เสื้อสูบ, ข้อเหวี่ยงและก้านสูบ
4) เสียงและการสั่น  สะเทือนของเครื่อง เสียงการทำงานของเครื่องเงียบการสั่นสะเทือนต่ำ เสียงการทำงานของเครื่องเสียงดังการสั่นสะเทือนสูง
5) ความมั่นใจในการทำงาน สูงเพราะมีชิ้นส่วนการเคลื่อนที่น้อย ต่ำ เพราะมีชิ้นส่วนการเคลื่อนที่มากกว่า
6) การขับเคลื่อน เป็นระบบต่อเพลาเข้ากับมอเตอร์โดยตรงทำให้ไม่มีการสูญเสียในระบบขับเคลื่อน ขับเคลื่อนโดยมีมูเล่ย์ และสายพานระหว่างมอเตอร์กับปั้มลม ทำให้มีการสูญเสียในระบบขับเคลื่อน (ประมาณ 7 – 17%) ต้องคอยดูแลความตึงของสายพานและต้องเปลี่ยนตามอายุการใช้งาน
7) ระบบการเดินเครื่อง ออกแบบมาให้ใช้งานได้ 24 ชั่วโมง/วัน ไม่สามารถทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง/วัน ควรจะหยุดพักเครื่องประมาณ 6-8 ชั่วโมงต่อวัน ถ้าใช้งาน 24 ชั่วโมง/วัน การสึกหรอจะสูงมาก
HEAVY DUTY SYSTEM

Compressor Systems

ระบบลม Compressor

จำหน่ายอุปกรณ์ระบบลม COMPRESSOR Air Compressor, Air Reciever Tank, Air Dryer, Air Filter

Maintenance Service

 

งานซ่อม บำรุงอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็คทรอนิค inverter,servo drive,plc,soft start,ups,power supply,tourch screen,board control

บริษัท ดับเบิ้ลยู – เอ็นจิเนีย จำกัด

บริษัทรับเหมางานระบบไฟฟ้าแรงตํ่า-แรงสูง,ระบบควบคุมเครื่องจักร, รับซ่อมทำและจำหน่ายอุปกรณ์ไฟฟ้า, อะไหล่เครื่องจักร, งานโครงสร้าง และนำเข้าอะไหล่จากต่างประเทศ รวมทั้ง ระบบลมจากเครื่องอัดอากาศทั้งเรื่องการซ่อม การโอเวอร์ฮอลล์ บริการดูแลรายปี การเพิ่มเครื่องอุปกรณ์ต่างๆในระบบลมและรับปรึกษาปัญหาในระบบลมโรงงานโดยผู้ชำนาญและเชี่ยวชาญ

  • งานไฟฟ้าและอิเล็คทรอนิค
  • งานออกแบบและติดตั้งระบบไฟฟ้าสำหรับโรงงาน, อาคารชุด,
    สำนักงาน
  • งานระบบลมจาก COMPRESSOR และการติดตั้ง
  • รับเช็คโอเวอร์ฮอลล์และตรวจเช็ค
  • ติดตั้งท่อระบบลมและท่อลม
  • รับดูแลบริการตรวจเช็คปั๊มลมรายปี