แบบสกรู ( Rotary Screw Air Compressor )
1 .ปั้มลมแบบลูกสูบ ( PISTON COMPRESSOR )
เป็นปั้มลมที่นิยมใช้กันมากที่สุด เพราะสามารถอัดลมได้ตั้งแต่ความดันต่ำ จนถึงความดันสูง สามารถสร้างความดันได้ตั้งแต่หนึ่งบาร์จนถึงเป็นพันบาร์โดยขึ้นอยู่กับจำนวนขั้นของการอัด ถ้าขั้นในการอัดมากก็จะสามารถสร้างความดันให้สูงขึ้นตามไปด้วย
2. ปั้มลมแบบสกรู ( SCREW COMPRESSOR )
ปั้มอัดลมชนิดนี้ภายในคอมเพรสเซอร์ชนิดนี้จะมีเพลา สกรูสองเพลาที่หมุนขบกัน เรียกว่า เพลาตัวผู้ และเพลาตัวเมีย เพลาสกรูทั้งสองจะประกอบอยู่ในตัวเรือนเดียวกันโดยหมุนด้วยความเร็วรอบเกือบเท่ากัน ซึ่งเพลาตัวผู้จะหมุนเร็วกว่าเพลาตัวเมียเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และมีทิศทางการหมุนเข้าหากันทำให้ดูดลมจากด้านหนึ่ง และอัดส่งต่อไปอีกด้านหนึ่งได้ โดยสามารถทำให้ค่าความดันสูงถึง 10 บาร์ และมีอัตราการจ่ายลมได้ถึง 170 ลูกบาศก์เมตรต่อนาที
3. ปั้มลมแบบ ( Turbo Centrifugal )
เครื่องอัดลมแบบเทอร์โบ เป็นเครื่องอัดลมแบบแรงเหวี่ยงขนาดใหญ่โดยมีขนาดตั้งแต่ 300 แรงม้า ถึง 3,500 แรงม้า ออกแบบเพื่ออุตสาหกรรมที่ต้องการลมปริมาณมากและไร้น้ำมัน(Oil-free) เช่นอุตสาหกรรม อิเลคทรอนิกส์ สิ่งทอ ปิโตรเคมีคอล อุตสาหกรรมผลิตเหล็กและอื่นๆ
การเปรียบเทียบระหว่าง ปั้มลมแบบสกรูและปั้มลมแบบลูกสูบ
รายการ | แบบสกรู ( Rotary Screw Air Compressor ) | แบบลูกสูบ ( Reciprocating Air Compressor ) |
( DIRECT COUPLING ) | ( BELT ) | |
1)ปริมาณการอัดลม | มีชิ้นส่วนเพียง 2 ตัว (สกรูตัวผู้และสกรูตัวเมีย) ที่หมุนโดยมีน้ำมันเป็นฟิลม์ป้องกันการกระแทก ทำให้มีการสึกหรอน้อย ซึ่งจะทำให้ปริมาณการอัดลมคงที่ | มีชิ้นส่วนในการขับเคลื่อนมากกว่า เช่น ลูกสูบ,แหวน, ก้านสูบ, วาล์วดูดและอัดลม ซึ่งจะทำให้เกิดการ สึกหรอสูง มีผลต่อปริมาณการอัดลมลดลงประมาณ 15-20% ต่อปี |
2) การกินกำลังไฟฟ้า KW/CFM | การกินกำลังไฟฟ้าเกือบคงที่เนื่องจากการสึกหรอต่ำ | การกินกำลังไฟฟ้าเพิ่มขึ้นตามชั่วโมงการใช้งานเนื่องจากมีการสึกหรอสูง |
3) การบำรุงรักษา | ต้องการการบำรุงรักษาต่ำซึ่งมีการเปลี่ยนน้ำมันและไส้กรองน้ำมันเท่านั้น | ต้องการการบำรุงรักษาเป็นระยะ เช่น แหวนสูบ,กระบอกสูบ, เสื้อสูบ, ข้อเหวี่ยงและก้านสูบ |
4) เสียงและการสั่น สะเทือนของเครื่อง | เสียงการทำงานของเครื่องเงียบการสั่นสะเทือนต่ำ | เสียงการทำงานของเครื่องเสียงดังการสั่นสะเทือนสูง |
5) ความมั่นใจในการทำงาน | สูงเพราะมีชิ้นส่วนการเคลื่อนที่น้อย | ต่ำ เพราะมีชิ้นส่วนการเคลื่อนที่มากกว่า |
6) การขับเคลื่อน | เป็นระบบต่อเพลาเข้ากับมอเตอร์โดยตรงทำให้ไม่มีการสูญเสียในระบบขับเคลื่อน | ขับเคลื่อนโดยมีมูเล่ย์ และสายพานระหว่างมอเตอร์กับปั้มลม ทำให้มีการสูญเสียในระบบขับเคลื่อน (ประมาณ 7 – 17%) ต้องคอยดูแลความตึงของสายพานและต้องเปลี่ยนตามอายุการใช้งาน |
7) ระบบการเดินเครื่อง | ออกแบบมาให้ใช้งานได้ 24 ชั่วโมง/วัน | ไม่สามารถทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง/วัน ควรจะหยุดพักเครื่องประมาณ 6-8 ชั่วโมงต่อวัน ถ้าใช้งาน 24 ชั่วโมง/วัน การสึกหรอจะสูงมาก |
HEAVY DUTY SYSTEM |
บริษัท ดับเบิ้ลยู – เอ็นจิเนีย จำกัด
บริษัทรับเหมางานระบบไฟฟ้าแรงตํ่า-แรงสูง,ระบบควบคุมเครื่องจักร, รับซ่อมทำและจำหน่ายอุปกรณ์ไฟฟ้า, อะไหล่เครื่องจักร, งานโครงสร้าง และนำเข้าอะไหล่จากต่างประเทศ รวมทั้ง ระบบลมจากเครื่องอัดอากาศทั้งเรื่องการซ่อม การโอเวอร์ฮอลล์ บริการดูแลรายปี การเพิ่มเครื่องอุปกรณ์ต่างๆในระบบลมและรับปรึกษาปัญหาในระบบลมโรงงานโดยผู้ชำนาญและเชี่ยวชาญ
- งานไฟฟ้าและอิเล็คทรอนิค
- งานออกแบบและติดตั้งระบบไฟฟ้าสำหรับโรงงาน, อาคารชุด,
สำนักงาน - งานระบบลมจาก COMPRESSOR และการติดตั้ง
- รับเช็คโอเวอร์ฮอลล์และตรวจเช็ค
- ติดตั้งท่อระบบลมและท่อลม
- รับดูแลบริการตรวจเช็คปั๊มลมรายปี